นักบวช
แชร์ 629 แชร์ 610 แชร์ 530
จากพระวจนะสู่การถือชีวิตที่บริสุทธิ์
ชีวิตนักบวชเป็นชีวิตที่ถือตามพระวจนะที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล 3 ข้อ คือ มีความนบนอบ, ถือความยากจน, ถือความบริสุทธ์ (โสด) การเลือกใช้ชีวิตนักบวชนั้นเป็นเจตจำนงค์เสรี (Free Will) ของผู้นั้นที่จะน้อมรับวิถีการใช้ชีวิตในโลกนี้เพื่อให้จิตวิญญาณของตัวเองได้เป็นประชากรที่เป็นกรรมสิทธิ์พิเศษของพระเจ้า
ตามพระวจนะที่เขียนไว้ว่า "ท่านทั้งหลายเป็นชาติที่ทรงเลือกสรรไว้ เป็นสมณราชตระกูล เป็นชนชาติศักดิ์สิทธิ์ เป็นประชากรที่เป็นกรรมสิทธิ์พิเศษของพระเจ้า เพื่อจะประกาศพระฤทธานุภาพของพระองค์ผู้ทรงเรียกท่านจากความมืดมนสู่ความสว่างที่น่าพิศวงของพระองค์" (1 เปโตร 2:9)
ตามพระวจนะที่เขียนไว้ว่า "ท่านทั้งหลายเป็นชาติที่ทรงเลือกสรรไว้ เป็นสมณราชตระกูล เป็นชนชาติศักดิ์สิทธิ์ เป็นประชากรที่เป็นกรรมสิทธิ์พิเศษของพระเจ้า เพื่อจะประกาศพระฤทธานุภาพของพระองค์ผู้ทรงเรียกท่านจากความมืดมนสู่ความสว่างที่น่าพิศวงของพระองค์" (1 เปโตร 2:9)
นักบวชเป็นเรื่องของชีวิตบริสุทธิ์ที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์
พระคัมภีร์ไม่ได้เขียนไว้ถึงตำแหน่ง "นักบวช" แต่พระคัมภีร์เขียนถึง "ชีวิตที่บริสุทธิ์" ว่า จะต้องใช้ชีวิตอย่างไร ท่ามกลางการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จำนวนมาก ไม่ว่าจะในกิจการทางโลก เช่น การเรียนในมหาวิทยาลัย, การทำงาน, การทำธุรกิจ ฯลฯ หรือ ในกิจการของพระศานจักร ต่างก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่มนุษย์จะมีโอกาสเรื่องความคิด/ความรู้สึกเพศ (หรือ กำหนัด) เข้ามาเกี่ยวข้องในระหว่างที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
เปาโลจึงมีคำแนะนำว่า "ชีวิตที่แต่งงานนั้นจะนำมาซึ่งความยุ่งยากในชีวิต" (1 โครินธ์ 7:28) เหตุเพราะ "ผู้ที่แต่งงานไม่ว่าชายหรือหญิง ก็จะสาละวนกับการงานของโลก เพื่อจะหาวิธีที่ทำให้สามีหรือภรรยาพึงพอใจ" (1 โครินธ์ 7:32-34) ดังนั้นชีวิตที่บริสุทธิ์นั้นก็เป็นการดีกว่า "ดังนี้ผู้ที่แต่งงานกับหญิงคู่หมั้นของตนก็ทำดี และผู้ที่ไม่แต่งงานก็ทำดีกว่า" (1 โครินธ์ 7:38) และ "ข้าพเจ้าขอบอกกับผู้ที่ไม่แต่งงานและหญิงม่ายว่า การเป็นโสดต่อไปเหมือนกับข้าพเจ้านั้นเป็นการดี" (1 โครินธ์ 7:8)
เปาโลจึงมีคำแนะนำว่า "ชีวิตที่แต่งงานนั้นจะนำมาซึ่งความยุ่งยากในชีวิต" (1 โครินธ์ 7:28) เหตุเพราะ "ผู้ที่แต่งงานไม่ว่าชายหรือหญิง ก็จะสาละวนกับการงานของโลก เพื่อจะหาวิธีที่ทำให้สามีหรือภรรยาพึงพอใจ" (1 โครินธ์ 7:32-34) ดังนั้นชีวิตที่บริสุทธิ์นั้นก็เป็นการดีกว่า "ดังนี้ผู้ที่แต่งงานกับหญิงคู่หมั้นของตนก็ทำดี และผู้ที่ไม่แต่งงานก็ทำดีกว่า" (1 โครินธ์ 7:38) และ "ข้าพเจ้าขอบอกกับผู้ที่ไม่แต่งงานและหญิงม่ายว่า การเป็นโสดต่อไปเหมือนกับข้าพเจ้านั้นเป็นการดี" (1 โครินธ์ 7:8)
การแต่งงานเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตไม่บริสุทธิ์ ?
ไม่ใช่ เพราะการแต่งงานเป็นเรื่องที่พระเจ้าอนุญาตตามการทรงสร้าง และอนุญาตเพื่อป้องกันมิให้ผิดประเวณี เพราะว่า "ร่างกายมิได้มีไว้สำหรับการล่วงประเวณี" (1 โครินธ์ 6:13) ชายและหญิงจึงสามารถมีคู่ชีวิตของกันและกันได้ และยกให้ร่างกายเป็นของกันและกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อป้องกันการถูกไฟราคะเผาผลาญทำให้ตกในความบาปได้
"แต่ถ้าเขาบังคับตนเอง (บังคับกำหนัดกามรมณ์ไม่ได้) ก็จงแต่งงาน เพราะการแต่งงานดีกว่าการถูกไฟราคะเผาผลาญ" (1 โครินธ์ 7:9) เพราะคนที่ไม่แต่งงานและให้ไฟราคะเผาผลาญก็จะหาที่ระบายกำหนัดกับผู้อื่นทำให้เกิดบาป "ท่านไม่รู้หรือว่า ร่างกายของท่านเป็นส่วนประกอบของพระวรกายของพระคริสตเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะเอาส่วนประกอบของพระวรกายของพระคริสตเจ้านี้ไปร่วมกับร่างกายของหญิงโสเภณีหรือ เป็นไปไม่ได้ ท่านไม่รู้หรือว่า ผู้ที่ร่วมเพศกับหญิงโสเภณีก็เป็นกายเดียวกับนาง เพราะมีกล่าวไว้ว่า ทั้งสองจะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน" (1 โครินธ์ 6:15-16)
ดังนั้น การแต่งงานก็มิได้เป็นการกระทำบาปแต่อย่างใด "แต่ถ้าท่านแต่งงาน ท่านก็มิได้ทำบาป และ ถ้าหญิงสาวพรหมจารีจะแต่งงาน เธอก็มิได้ทำบาป" (1 โครินธ์ 7:28) "พระเจ้าทรงซื้อท่านไว้ด้วยราคาแพง ดังนั้นจงใช้ร่างกายของท่านถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเถิด" (1 โครินธ์ 6:20)
"แต่ถ้าเขาบังคับตนเอง (บังคับกำหนัดกามรมณ์ไม่ได้) ก็จงแต่งงาน เพราะการแต่งงานดีกว่าการถูกไฟราคะเผาผลาญ" (1 โครินธ์ 7:9) เพราะคนที่ไม่แต่งงานและให้ไฟราคะเผาผลาญก็จะหาที่ระบายกำหนัดกับผู้อื่นทำให้เกิดบาป "ท่านไม่รู้หรือว่า ร่างกายของท่านเป็นส่วนประกอบของพระวรกายของพระคริสตเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะเอาส่วนประกอบของพระวรกายของพระคริสตเจ้านี้ไปร่วมกับร่างกายของหญิงโสเภณีหรือ เป็นไปไม่ได้ ท่านไม่รู้หรือว่า ผู้ที่ร่วมเพศกับหญิงโสเภณีก็เป็นกายเดียวกับนาง เพราะมีกล่าวไว้ว่า ทั้งสองจะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน" (1 โครินธ์ 6:15-16)
ดังนั้น การแต่งงานก็มิได้เป็นการกระทำบาปแต่อย่างใด "แต่ถ้าท่านแต่งงาน ท่านก็มิได้ทำบาป และ ถ้าหญิงสาวพรหมจารีจะแต่งงาน เธอก็มิได้ทำบาป" (1 โครินธ์ 7:28) "พระเจ้าทรงซื้อท่านไว้ด้วยราคาแพง ดังนั้นจงใช้ร่างกายของท่านถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเถิด" (1 โครินธ์ 6:20)
แต่การถือโสดนั้นเป็นชีวิตที่ทำให้พระองค์พอพระทัยกว่า
"ส่วนผู้ที่ตั้งใจแน่วแน่จะไม่แต่งงานโดยไม่มีใครบังคับ แต่ด้วยความสามารถที่จะบังคับควบคุมความปรารถนาของตน และ ตัดสินใจแน่วแน่จะไม่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงคู่หมั้น เขาก็ทำดีแล้ว ดังนี้ผู้ที่แต่งงานกับหญิงคู่หมั้นของตนก็ทำดี และ ผู้ที่ไม่แต่งงานก็ทำดีกว่า"(1 โครินธ์ 7:37-38)
เพราะว่าผู้ที่ไม่แต่งงานนั้นย่อมทำให้พระองค์พอพระทัยมากกว่า "ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านปราศจากความกังวล ผู้ที่มิได้แต่งงานย่อมสาละวนในการงานขององค์พระผู้เป็นเจ้า หาวิธีทำให้พระองค์พอพระทัย" (1 โครินธ์ 7:32) และ "หญิงที่ไม่แต่งงานและสาวพรหมจารีนั้นย่อมสาละวนในการงานขององค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อจะได้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งร่างกายและจิตใจ" (1 โครินธ์ 7:34)
เพราะว่าผู้ที่ไม่แต่งงานนั้นย่อมทำให้พระองค์พอพระทัยมากกว่า "ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านปราศจากความกังวล ผู้ที่มิได้แต่งงานย่อมสาละวนในการงานขององค์พระผู้เป็นเจ้า หาวิธีทำให้พระองค์พอพระทัย" (1 โครินธ์ 7:32) และ "หญิงที่ไม่แต่งงานและสาวพรหมจารีนั้นย่อมสาละวนในการงานขององค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อจะได้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งร่างกายและจิตใจ" (1 โครินธ์ 7:34)
การถือโสดบริสุทธิ์นั้นจึงเป็นเรื่องของพระพร (กระแสเรียก)
การแต่งงานเป็นสิทธิ์ที่มนุษย์เลือกใช้ได้เพื่อยังคงให้ได้รับพระพรจากพระองค์ เพราะเลือกทางออกสำหรับความรักร้อนแรงด้วยวิถีทางที่พระเจ้าทรงอนุญาต และ ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับพระพรเป็นกระแสเรียกให้ถือโสดบริสุทธิ์ "ข้าพเจ้าต้องการให้ทุกคนถือโสดเหมือนข้าพเจ้า แต่พระเจ้าประทานพระพรพิเศษให้แต่ละคน คนหนึ่งได้รับพระพรนี้ และ อีกคนหนึ่งได้รับพระพรนั้น" (1 โครินธ์ 7:7)
สำหรับเปาโลแล้ว การถือพรหมจรรย์นั้นต่างจากการสมรส เพราะการถือพรหมจรรย์นั้นเลียนแบบชีวิตของพระเยซูคริสต์ และ ไม่ได้ขัดแย้งกับพระวจนะในปฐมกาลที่บันทึกไว้ว่า "ไม่เป็นการดีที่ชายจะอยู่คนเดียว" (ปฐมกาล 2:18)
เพราะคริสตชนผู้นั้น (ในฐานะเจ้าสาว) ซึ่งได้รับกระแสเรียกจากองค์พระผู้เป็นเจ้าให้ถือพรหมจรรย์นั้น ก็จะนบนอบ (คือ เต็มใจ)และใช้กายที่ถูกสร้างมานั้นร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า (ผู้อยู่ในฐานะเจ้าบ่าว) จึงไม่ได้อยู่คนเดียวแบบอาดัมเหมือนในปฐมกาลอีกต่อไป (เหตุเพราะเจ้าบ่าวได้มาบังเกิดแล้ว) ดังที่พระวจนะเขียนเอาไว้ว่า "แต่ผู้สนิทสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้าก็เป็นจิตใจเดียวกันกับพระองค์" (1 โครินธ์ 6:17)
และต้องไม่เข้าใจผิดว่า การถือพรหมจรรย์นั้นเป็นพระพรพิเศษกว่าการแต่งงาน แต่วิถีชีวิตทั้งสองรูปแบบนั้นเป็นพระพรของพระเจ้าที่มีพระประสงค์มอบให้แต่ละคนแตกต่างกันไป เพื่อที่เขาจะได้ทำหน้าที่ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าของเขาด้วยกายนี้ "ดังนั้นจงใช้ร่างกายของท่านถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเถิด" (1 โครินธ์ 7:2)
สำหรับเปาโลแล้ว การถือพรหมจรรย์นั้นต่างจากการสมรส เพราะการถือพรหมจรรย์นั้นเลียนแบบชีวิตของพระเยซูคริสต์ และ ไม่ได้ขัดแย้งกับพระวจนะในปฐมกาลที่บันทึกไว้ว่า "ไม่เป็นการดีที่ชายจะอยู่คนเดียว" (ปฐมกาล 2:18)
เพราะคริสตชนผู้นั้น (ในฐานะเจ้าสาว) ซึ่งได้รับกระแสเรียกจากองค์พระผู้เป็นเจ้าให้ถือพรหมจรรย์นั้น ก็จะนบนอบ (คือ เต็มใจ)และใช้กายที่ถูกสร้างมานั้นร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า (ผู้อยู่ในฐานะเจ้าบ่าว) จึงไม่ได้อยู่คนเดียวแบบอาดัมเหมือนในปฐมกาลอีกต่อไป (เหตุเพราะเจ้าบ่าวได้มาบังเกิดแล้ว) ดังที่พระวจนะเขียนเอาไว้ว่า "แต่ผู้สนิทสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้าก็เป็นจิตใจเดียวกันกับพระองค์" (1 โครินธ์ 6:17)
และต้องไม่เข้าใจผิดว่า การถือพรหมจรรย์นั้นเป็นพระพรพิเศษกว่าการแต่งงาน แต่วิถีชีวิตทั้งสองรูปแบบนั้นเป็นพระพรของพระเจ้าที่มีพระประสงค์มอบให้แต่ละคนแตกต่างกันไป เพื่อที่เขาจะได้ทำหน้าที่ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าของเขาด้วยกายนี้ "ดังนั้นจงใช้ร่างกายของท่านถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเถิด" (1 โครินธ์ 7:2)
การรวมกลุ่มกันเป็นคณะ
เมื่อผู้ประสงค์จะใช้ชีวิตอย่างสันโดษเริ่มรวมตัวเข้าด้วยกัน ความจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ของชุมชนก็เป็นสิ่งที่ตามมา ผู้ถือชีวิตโสดจึงกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ทุกคนต้องถือปฏิบัติร่วมกัน เป็นสิ่งยึดโยงในการอยู่เป็นสมาชิกของกลุ่ม ถ้าเป้าหมายต่างกันก็จะถือว่าต่างคณะกัน เช่น กลุ่มที่ทำงานเพื่อแพร่ธรรม, กลุ่มที่ทำงานเพื่อเยาวชน, กลุ่มที่ทำงานเพื่อผู้ป่วย ฯลฯ แต่ทุกคณะก็ล้วนแต่มีเป้าหมายอุทิศชีวิตทั้งหมดเพื่อการงานของพระเจ้า
การร่วมกลุ่มกันก็ยังช่วยค้ำจุนชีวิตให้สมาชิกในกลุ่มมีปัจจัยในการดำรงชีพ เหตุเพราะพวกเขาต้องถือความยากจน (ไม่ทำงานเลี้ยงชีพฝ่ายโลก) และยังเพื่อช่วยดูแลกันเมื่อเจ็บป่วย หรือ ถึงวัยชราภาพอีกด้วย
เพื่อบอกสถานะในการดำรงตนอยู่ในสังคมว่าผู้ถือชีวิตโสดนั้นจะใช้ชีวิตอย่างไร มีหน้าที่การงานอะไรต่อสังคม และ สังคมจะสามารถปฏิบัติอย่างไรต่อพวกเขา
พวกเขาจึงเรียกตัวเองว่า "นักบวช" (monasticism) และ สร้างชุดเครื่องแบบของคณะ เมื่อสังคมได้เห็นชุดเครื่องแบบก็จะทราบทันทีว่า เขาหรือเธอคนนั้นเป็นผู้ถวายตัวเองให้กับวิถีชีวิตที่บริสุทธิ์ (ถือโสด) พวกเขาย่อมมีความโน้มเอียงที่จะคิดดี ประพฤติดี
การสวมใส่เครื่องแบบนักบวชไม่ใช่เพื่อสนองความภูมิใจของพวกเขาเอง แต่เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่า เมื่อพวกเขาเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าแล้ว พวกเขาก็มีหน้าที่รับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยการเสียสละทุกสิ่งแม้กระทั่งชีวิต ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูด เครื่องแบบนักบวชก็พูดถึงพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสวรรค์แทนพวกเขา เพื่อให้สังคมได้รู้ว่าจะสามารถปฏิบัติอย่างไรและร้องขอการงานใดจากพวกเขา และ ให้ความเคารพแก่พวกเขาในฐานะผู้ถวายชีวิตให้เป็นคนงานของพระเจ้า (เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่กระทำบาปกับคนงานของพระองค์)
การร่วมกลุ่มกันก็ยังช่วยค้ำจุนชีวิตให้สมาชิกในกลุ่มมีปัจจัยในการดำรงชีพ เหตุเพราะพวกเขาต้องถือความยากจน (ไม่ทำงานเลี้ยงชีพฝ่ายโลก) และยังเพื่อช่วยดูแลกันเมื่อเจ็บป่วย หรือ ถึงวัยชราภาพอีกด้วย
เพื่อบอกสถานะในการดำรงตนอยู่ในสังคมว่าผู้ถือชีวิตโสดนั้นจะใช้ชีวิตอย่างไร มีหน้าที่การงานอะไรต่อสังคม และ สังคมจะสามารถปฏิบัติอย่างไรต่อพวกเขา
พวกเขาจึงเรียกตัวเองว่า "นักบวช" (monasticism) และ สร้างชุดเครื่องแบบของคณะ เมื่อสังคมได้เห็นชุดเครื่องแบบก็จะทราบทันทีว่า เขาหรือเธอคนนั้นเป็นผู้ถวายตัวเองให้กับวิถีชีวิตที่บริสุทธิ์ (ถือโสด) พวกเขาย่อมมีความโน้มเอียงที่จะคิดดี ประพฤติดี
การสวมใส่เครื่องแบบนักบวชไม่ใช่เพื่อสนองความภูมิใจของพวกเขาเอง แต่เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่า เมื่อพวกเขาเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าแล้ว พวกเขาก็มีหน้าที่รับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยการเสียสละทุกสิ่งแม้กระทั่งชีวิต ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูด เครื่องแบบนักบวชก็พูดถึงพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสวรรค์แทนพวกเขา เพื่อให้สังคมได้รู้ว่าจะสามารถปฏิบัติอย่างไรและร้องขอการงานใดจากพวกเขา และ ให้ความเคารพแก่พวกเขาในฐานะผู้ถวายชีวิตให้เป็นคนงานของพระเจ้า (เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่กระทำบาปกับคนงานของพระองค์)
ชีวิตที่ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าด้วยร่างกาย
เราจึงเห็นการงานของนักบวชเป็นไปในทางอุทิศตัวเพื่อสังคมโดยไม่รับค่าตอบแทน และ เราก็สามารถคาดหวังได้แบบนั้น เช่น
แชร์ 629 แชร์ 610 แชร์ 530
- คณะนักบวชซาเลเซียน ซึ่งมีจิตตารมย์ทำงานสำหรับเด็กยากจน และเด็กด้อยโอกาสด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านที่พัก แล้วจัดการศึกษาอบรมเด็กเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กได้มีความรู้พื้นฐาน ให้มีคุณธรรม มโนธรรม จริยธรรม ความรัก ความเมตตา ไม่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ก่อปัญหาให้แก่สังคม
- คณะนักบวชเบธาราม ซึ่งมีจิตตารมย์ทำงานด้านแพร่ธรรม จึงพร้อมเสมอเมื่อพระศาสนจักรมอบภารกิจให้ทำงานแพร่ธรรมในพื้นที่ใด ๆ ในโลกนี้ สมาชิกคณะเบธารามก็นบนอบที่จะกระทำตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
- คณะนักบวชพระมหาไถ่ ซึ่งมีจิตตารมย์ทำงานด้านการเทศนาสั่งสอน คณะมีผลงานประพันธ์หนังสือไว้ถึง 11 เล่ม ที่มีชื่อเสียง เช่น "เครื่องมือสำคัญแห่งความรอด" "พระทรมานของพระคริสต์" ซึ่งพระสันตะปาปาหลายพระองค์ชื่นชมผลงานของท่านอย่างมาก
และที่พวกเขาทำแบบนั้นได้ตลอดทั้งชีวิต ก็เพราะพวกเขาถือโสดตามพระพรที่ทรงมอบให้ ตามพระวจนะที่เขียนไว้ใน 1 โครินธ์ 7:32-34 พวกเขาจึงปราศจากความกังวลใด ๆ เพื่อตอบสนองต่อพระพรพิเศษที่มอบให้กับพวกเขา
นักบวชที่ถวายตัวจนเป็นที่พอพระทัยก็จะมีชีวิตศักดิ์สิทธิ์
ผู้ดำเนินชีวิตกับพระเจ้าก็จะเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า (1 โครินธ์ 6:17, 7:34) และเมื่อเปาโล (รวมถึงอัครสาวกท่านอื่น ๆ) ก็เรียกร้องให้เราเป็นเหมือนเปาโลด้วยข้อพิเศษ คือ "ข้าพเจ้าต้องการให้ทุกคนถือโสดเหมือนข้าพเจ้า การเป็นโสดต่อไปเหมือนข้าพเจ้านั้นเป็นการดี" (1 โครินธ์ 7:7-8)
เมื่อเปาโลเรียกร้องให้เราเป็นเหมือนเปาโล คือ ให้เราเป็นโสดเพราะเป็นการดี ที่เป็นการดีก็เพราะชีวิตเราจะสาละวนแต่การงานของพระเจ้า และนั่นจึงเป็นเหตุให้พระจิตเจ้าพอพระทัยที่จะประทับอยู่ร่วมกับร่างกายของเรา ดังนั้นความศักดิ์สิทธิ์ก็จะเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้รับใช้ของพระเจ้า เพื่อยืนยันถึงการพอพระทัยของพระองค์
ความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของนักบวช ก็โดยการประทับอยู่ของพระจิตนั้นเอง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเครื่องหมายอัศจรรย์ให้แก่บรรดาผู้ที่ไม่รู้จักพระเจ้าให้รู้จักพระเจ้า ดังที่ปรากฏกับเปาโล "ประชาชนจำนวนมากนำผ้าเช็ดหน้าและผ้ากันเปื้อนที่ได้สัมผัสกับร่างกายของเปาโลมาวางบนผู้ป่วย เขาก็หายจากโรคภัยและแม้แต่ปีศาจร้ายก็หนีไป" (กิจการ 19:12) โดยพระจิตเจ้าประทับอยู่กับเปาโลในกิจการต่าง ๆ ของเขา "เปาโลปกมือเหนือเขา พระจิตเจ้าก็เสด็จลงมาประทับอยู่ด้วย" (กิจการ 19:6)
การอัศจรรย์เหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นหลังยุคอัครสาวก เช่น นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี ผู้ตั้งคณะฟรังซิสกันที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1182-1226) และ นักบุญปีโอ (ค.ศ. 1887-1968) เป็นพระสงฆ์คณะกาปูชินที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน สามารถรักษาคนป่วยเป็นพัน ๆ คนขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ คนงานคนหนึ่ง ชื่อ จิโอวานนี ซาวีโน ตาบอดข้างหนึ่งแต่ต่อมากลับมองเห็นได้ด้วยผ้าพันตาที่คุณพ่อปีโอมอบให้ขณะที่ไปเยี่ยมเขาด้วยการปรากฏตัวอยู่สองสถานที่ในเวลาเดียวกัน
เฉกเช่นอัครสาวกเปาโล คุณพ่อปีโอยึดเอาไม้กางเขนเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิตและกิจการงานต่าง ๆ ของท่าน ไม้กางเขนของพระเยซูคริสต์ คือ พลังที่แท้จริงซึ่งเป็นปรีชาญาณและเกียรติมงคลของท่าน ท่านมีใจร้อนรนด้วยความรักของพระคริสตเจ้า จนตัวท่านมีความคล้ายพระเยซูเจ้าเองในการบูชาตนเองเพื่อความรอดของโลก
เมื่อเปาโลเรียกร้องให้เราเป็นเหมือนเปาโล คือ ให้เราเป็นโสดเพราะเป็นการดี ที่เป็นการดีก็เพราะชีวิตเราจะสาละวนแต่การงานของพระเจ้า และนั่นจึงเป็นเหตุให้พระจิตเจ้าพอพระทัยที่จะประทับอยู่ร่วมกับร่างกายของเรา ดังนั้นความศักดิ์สิทธิ์ก็จะเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้รับใช้ของพระเจ้า เพื่อยืนยันถึงการพอพระทัยของพระองค์
ความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของนักบวช ก็โดยการประทับอยู่ของพระจิตนั้นเอง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเครื่องหมายอัศจรรย์ให้แก่บรรดาผู้ที่ไม่รู้จักพระเจ้าให้รู้จักพระเจ้า ดังที่ปรากฏกับเปาโล "ประชาชนจำนวนมากนำผ้าเช็ดหน้าและผ้ากันเปื้อนที่ได้สัมผัสกับร่างกายของเปาโลมาวางบนผู้ป่วย เขาก็หายจากโรคภัยและแม้แต่ปีศาจร้ายก็หนีไป" (กิจการ 19:12) โดยพระจิตเจ้าประทับอยู่กับเปาโลในกิจการต่าง ๆ ของเขา "เปาโลปกมือเหนือเขา พระจิตเจ้าก็เสด็จลงมาประทับอยู่ด้วย" (กิจการ 19:6)
การอัศจรรย์เหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นหลังยุคอัครสาวก เช่น นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี ผู้ตั้งคณะฟรังซิสกันที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1182-1226) และ นักบุญปีโอ (ค.ศ. 1887-1968) เป็นพระสงฆ์คณะกาปูชินที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน สามารถรักษาคนป่วยเป็นพัน ๆ คนขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ คนงานคนหนึ่ง ชื่อ จิโอวานนี ซาวีโน ตาบอดข้างหนึ่งแต่ต่อมากลับมองเห็นได้ด้วยผ้าพันตาที่คุณพ่อปีโอมอบให้ขณะที่ไปเยี่ยมเขาด้วยการปรากฏตัวอยู่สองสถานที่ในเวลาเดียวกัน
เฉกเช่นอัครสาวกเปาโล คุณพ่อปีโอยึดเอาไม้กางเขนเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิตและกิจการงานต่าง ๆ ของท่าน ไม้กางเขนของพระเยซูคริสต์ คือ พลังที่แท้จริงซึ่งเป็นปรีชาญาณและเกียรติมงคลของท่าน ท่านมีใจร้อนรนด้วยความรักของพระคริสตเจ้า จนตัวท่านมีความคล้ายพระเยซูเจ้าเองในการบูชาตนเองเพื่อความรอดของโลก
นักบวชจึงเหมาะสมในการเป็นผู้นำถวายบูชา
พระศาสนจักรคาทอลิกจึงยอมรับว่า ผู้ที่ถวายตัวแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างครบถ้วน (ถือบริสุทธ์,นบนอบ,ถือความยากจน) จึงเป็นผู้ที่เหมาะสมจะเป็นผู้นำในการประกอบพิธีถวายบูชา เพราะบนพระแท่นบูชานั้น คือ แผ่นปังซึ่งเป็นตัวแทนพระวรกายของพระเยซูคริสต์ และด้วยพระวจนะที่เขียนไว้ว่า พระจิตจะเสด็จลงมาประทับกับผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและเหมาะสมแบบอัครสาวก (กิจการ 19:6) พระจิตจะเปลี่ยนแผ่นปังที่เคยเป็นเสมือนตัวแทนพระวรกายให้กลับกลายเป็นพระวรกายจริง ๆ ของพระเยซูคริสต์
มิใช่ เพราะพระสงฆ์ผู้เป็นนักบวชมีอำนาจในตัวเองที่จะกระทำอย่างนั้น แต่เหตุเพราะพระศาสนจักรอาศัยความเชื่อเช่นนั้นร่วมกับผู้นำประกอบพิธีที่มีชีวิตสง่างามเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า พระจิตจึงพอพระทัยที่จะเปลี่ยนแผ่นปังให้เป็นพระวรกายแท้จริง มีฤทธิ์อำนาจในการรักษาร่างกายและจิตวิญญาณเต็มล้น ด้วยความเชื่อตามที่พระวจนะเขียนเอาไว้ ดังนี้
เมื่อเสด็จมาถึงบ้านคนตาบอด เขาเข้ามาเฝ้าพระองค์พระเยซูจึงตรัสถามว่า "ท่านเชื่อว่าเราทำเช่นนั้นได้หรือ" เขาทั้งสองตอบว่า "เชื่อพระเจ้าข้า" พระองค์จึงทรงสัมผัสตาของเขาตรัสว่า "จงไปเป็นไปตามที่ท่านเชื่อเถิด" (มัทธิว 9:27-30) หรือ แล้วพระเยซูตรัสกับนายร้อยว่า "จงไปเถิด จงเป็นไปตามที่ท่านเชื่อนั้นเถิด" (มัทธิว 8:5-13) หรือ พระเยซูทรงหันมาเห็นเข้าจึงตรัสว่า "ลูกเอ๋ยทำใจดี ๆ ไว้ ความเชื่อของท่าน ช่วยให้ท่านรอดพ้นแล้ว" (มัทธิว 9:18-22)
ความเชื่อที่พระศาสนจักรถวายแด่พระตรีเอกานุภาพหมดกายและวิญญาณว่า "พระเยซูทรงประทับอยู่ในแผ่นปัง (มหาสนิท) บนพระแท่นบูชาเช่นนั้นจริง เป็นพระองค์เองที่มอบถวายพระองค์เองเพื่อเป็นเครื่องถวายบูชาแด่องค์พระบิดา" จึงได้รับการตอบสนองตามพระดำรัสของพระเยซูที่ว่า "จงไปเป็นไปตามที่ท่านเชื่อเถิด"
* การถวายพระองค์เองบนพระแท่นบูชา มิได้หมายถึง พระองค์จะถูกตรึงกางเขนซ้ำตามความเข้าใจผิดของโปรแตสแตนท์
มิใช่ เพราะพระสงฆ์ผู้เป็นนักบวชมีอำนาจในตัวเองที่จะกระทำอย่างนั้น แต่เหตุเพราะพระศาสนจักรอาศัยความเชื่อเช่นนั้นร่วมกับผู้นำประกอบพิธีที่มีชีวิตสง่างามเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า พระจิตจึงพอพระทัยที่จะเปลี่ยนแผ่นปังให้เป็นพระวรกายแท้จริง มีฤทธิ์อำนาจในการรักษาร่างกายและจิตวิญญาณเต็มล้น ด้วยความเชื่อตามที่พระวจนะเขียนเอาไว้ ดังนี้
เมื่อเสด็จมาถึงบ้านคนตาบอด เขาเข้ามาเฝ้าพระองค์พระเยซูจึงตรัสถามว่า "ท่านเชื่อว่าเราทำเช่นนั้นได้หรือ" เขาทั้งสองตอบว่า "เชื่อพระเจ้าข้า" พระองค์จึงทรงสัมผัสตาของเขาตรัสว่า "จงไปเป็นไปตามที่ท่านเชื่อเถิด" (มัทธิว 9:27-30) หรือ แล้วพระเยซูตรัสกับนายร้อยว่า "จงไปเถิด จงเป็นไปตามที่ท่านเชื่อนั้นเถิด" (มัทธิว 8:5-13) หรือ พระเยซูทรงหันมาเห็นเข้าจึงตรัสว่า "ลูกเอ๋ยทำใจดี ๆ ไว้ ความเชื่อของท่าน ช่วยให้ท่านรอดพ้นแล้ว" (มัทธิว 9:18-22)
ความเชื่อที่พระศาสนจักรถวายแด่พระตรีเอกานุภาพหมดกายและวิญญาณว่า "พระเยซูทรงประทับอยู่ในแผ่นปัง (มหาสนิท) บนพระแท่นบูชาเช่นนั้นจริง เป็นพระองค์เองที่มอบถวายพระองค์เองเพื่อเป็นเครื่องถวายบูชาแด่องค์พระบิดา" จึงได้รับการตอบสนองตามพระดำรัสของพระเยซูที่ว่า "จงไปเป็นไปตามที่ท่านเชื่อเถิด"
* การถวายพระองค์เองบนพระแท่นบูชา มิได้หมายถึง พระองค์จะถูกตรึงกางเขนซ้ำตามความเข้าใจผิดของโปรแตสแตนท์
นักบวชจึงเป็นคนงานของพระเจ้า ไม่ใช่คนกลางระหว่างพระเจ้าเหมือนที่โปรแตสแตนท์เข้าใจผิด
เปาโลได้เขียนจดหมายทิ้งไว้ 2,000 กว่าปี โดยเรียกร้องให้เรามีชีวิตเหมือนเปาโล เพราะเปาโลตระหนักว่าสิ่งนั้นดี และอยากให้เราได้มีส่วนร่วมในสิ่งดีนั้นด้วยผ่านการประพฤติตามแบบเปาโล และหากประพฤติได้แบบเปาโลก็จะบังเกิดผลแบบเปาโลด้วย ไม่ใช่เพื่อให้จบแค่ที่เปาโลสิ้นอายุขัยลงแน่นอน
นักบวชจึงเป็นคนงานของพระเจ้าอยู่ในฐานะชุมพาบาลฝูงแกะเหมือนกับผู้ที่มิใช่นักบวช เราเท่ากันแต่หน้าที่ต่างกัน เพราะผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นชุมพาบาลดูแลฝูงแกะ ก็ย่อมต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมใช้ชีวิตโดยไม่ต้องสาละวนกับการทำให้สามีหรือภรรยาพึงพอใจ แต่ใช้ทั้งหมดของชีวิตเพื่ออุทิศการงานให้แก่พระเจ้า (1 โครินธ์ 7:32) เพื่อยืนยันว่าฤทธิ์อำนาจและการอัศจรรย์ต่าง ๆ มาจากพระเจ้า เพื่อจะใช้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พวกเขาได้ไปถึงความรอดเท่านั้น มิใช่ การอัศจรรย์เพื่อเพิ่มจำนวนทรัพย์ ทวีความมั่งคั่งทางเนื้อหนัง หรือ เพื่อความเชื่อที่ผิดว่า ฟ้าสวรรค์มีคลังทรัพย์ (เงินทอง) พร้อมจะเทลงมาให้แก่ผู้ได้เห็นการอัศจรรย์นั้น
นักบวชจึงเป็นแค่คนงานที่ได้รับเครื่องมืออย่างที่เขาสมควรจะได้รับ มิใช่ คนกลางที่เป็นทางผ่านฤทธิ์อำนาจขององค์พระผู้เป็นเจ้า
นักบวชจึงเป็นคนงานของพระเจ้าอยู่ในฐานะชุมพาบาลฝูงแกะเหมือนกับผู้ที่มิใช่นักบวช เราเท่ากันแต่หน้าที่ต่างกัน เพราะผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นชุมพาบาลดูแลฝูงแกะ ก็ย่อมต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมใช้ชีวิตโดยไม่ต้องสาละวนกับการทำให้สามีหรือภรรยาพึงพอใจ แต่ใช้ทั้งหมดของชีวิตเพื่ออุทิศการงานให้แก่พระเจ้า (1 โครินธ์ 7:32) เพื่อยืนยันว่าฤทธิ์อำนาจและการอัศจรรย์ต่าง ๆ มาจากพระเจ้า เพื่อจะใช้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พวกเขาได้ไปถึงความรอดเท่านั้น มิใช่ การอัศจรรย์เพื่อเพิ่มจำนวนทรัพย์ ทวีความมั่งคั่งทางเนื้อหนัง หรือ เพื่อความเชื่อที่ผิดว่า ฟ้าสวรรค์มีคลังทรัพย์ (เงินทอง) พร้อมจะเทลงมาให้แก่ผู้ได้เห็นการอัศจรรย์นั้น
นักบวชจึงเป็นแค่คนงานที่ได้รับเครื่องมืออย่างที่เขาสมควรจะได้รับ มิใช่ คนกลางที่เป็นทางผ่านฤทธิ์อำนาจขององค์พระผู้เป็นเจ้า
ไม่ใช่นักบวชก็มีชีวิตบริสุทธิ์ได้
ส่วนผู้มิใช่นักบวชก็เป็นคนงานของพระเจ้าด้วยเช่นกัน เพราะมีหน้าที่เป็นเถาองุ่นแตกแขนงให้ข่าวประเสริฐแผ่ขยายไปทั่วแผ่นดินโลก คือ ใช้ชีวิตอย่างถูกต้องตามวิถีทางของพระเจ้า และให้ความสำคัญกับครอบครัว (สามี/ภรรยา/บุตร) ประกอบอาชีพด้วยความสุจริตและประกาศข่าวประเสริฐผ่านกิจการที่กระทำในชีวิต
แชร์ 629 แชร์ 610 แชร์ 530
คลิก รับข่าวแวดวงคาทอลิกถึงหน้าจอ