วัด
แชร์ 382 แชร์ 429 แชร์ 325
เรียกว่า วัดคาทอลิก หรือ โบสถ์คาทอลิก ?
สามารถเรียกได้ทั้งสองอย่าง แต่ที่พระศาสนจักรเรียกว่า "วัด" นั้นก็เพราะว่า พระศาสนจักรคาทอลิกเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยก่อนโปรแตสแตนท์ โดยมิชชันนารีคาทอลิกชาวโปรตุเกส (ผู้แพร่ธรรม) เดินทางมาถึงแผ่นดินสยามในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. 2100 และเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก
มิชชันนารีจึงเลือกใช้ภาษาที่บริบทสังคมในสมัยนั้นยอมรับได้ โดยคำว่า "โบสถ์ / อุโบสถ" ถูกสงวนไว้เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น มิชชันนารีจึงเลือกใช้คำว่า "วัด" ตามบริบทที่เป็นที่ชุมนุมของนักบวช แม้ว่าต่อมาจะมีการปรับปรุงคำบัญญัติและถ้อยคำต่าง ๆ แล้ว พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยก็ยังคงใช้คำว่า "วัด" เหมือนเดิม เพราะมีบัญญัติทั้งกรมศาสนาและกรมที่ดิน ให้เรียกศาสนสถานของพระศาสจักรโรมันคาทอลิกว่า "วัด"
มิชชันนารีจึงเลือกใช้ภาษาที่บริบทสังคมในสมัยนั้นยอมรับได้ โดยคำว่า "โบสถ์ / อุโบสถ" ถูกสงวนไว้เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น มิชชันนารีจึงเลือกใช้คำว่า "วัด" ตามบริบทที่เป็นที่ชุมนุมของนักบวช แม้ว่าต่อมาจะมีการปรับปรุงคำบัญญัติและถ้อยคำต่าง ๆ แล้ว พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยก็ยังคงใช้คำว่า "วัด" เหมือนเดิม เพราะมีบัญญัติทั้งกรมศาสนาและกรมที่ดิน ให้เรียกศาสนสถานของพระศาสจักรโรมันคาทอลิกว่า "วัด"
วัด คือ พระวิหารของพระเจ้า
พระศาสนจักรคาทอลิกสร้างพระวิหารของพระเจ้า เพื่อเป็นเครื่องหมายพิเศษสำหรับมนุษย์ เพื่อใช้ชุมนุมร่วมกัน สำหรับการภาวนา นมัสการสรรเสริญ และ รับพระพรจากพระองค์ผ่านการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นพิธีกรรมของพระเจ้า
งานเลี้ยงที่พระวิหารของพระเจ้า
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่พระเยซูคริสต์ทรงสั่งให้พระศาสนจักรกระทำในระหว่างมื้ออาหารสุดท้ายเพื่อระลึกถึงพระองค์ คือ การบิขนมปัง และ ดื่มเหล้าองุ่น พระศาสนจักรจึงประกอบพิธกรรมนี้ทุกวันทั่วโลกโดยไม่มีหยุดพัก เพราะการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์นั้น เป็นพระกรุณาคุณที่มนุษย์ไม่ควรมีวันหยุดพักในการขอบพระคุณพระองค์เลย
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์นี้เรียกว่า พิธีบูชาขอบพระคุณ (Mass-มิสซา) โดยพระศาสนจักรจะมีการรื้อฟื้นหลักความเชื่อ การสารภาพบาป การโมทนาขอบพระคุณ การร้องเพลงสรรเสริญ การฟังพระวาจาจากพระวรสารและฟังบทอ่านจากหนังสือประกาศก แล้วประกอบพิธีบิขนมปังและแบ่งเหล่าองุ่น ให้คริสตชนรับเอาพระวรกายของพระเยซูคริสต์ ร่วมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระกายของพระเยซูคริสต์
งานเลี้ยงนี้เป็นพิธีการของพระเจ้า เพราะพระเยซูคริสต์ตรัสว่า "จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด" (ลูกา 22:19) พระศาสนจักรจึงประกอบพิธีนี้ด้วยแรงกระตุ้นที่ถูกต้อง คือ นบนอบ ถ่อมตน และทำทุกสิ่งให้พร้อมสรรพอย่างสง่างาม เพื่อนำแต่ละคนได้ถวายผลงานรุ่นแรกและผลผลิตที่ดีที่สุดแด่พระเจ้าแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์เหมือนเมื่อครั้งอาแบลถวายบูชาในปฐมกาล (ปฐมกาล 4:4)
เหตุนี้เองพระศาสนจักรคาทอลิกจึงไม่มีการกระโดน โลดเต้น โห่ร้อง บนพระแท่นถวายบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขององค์พระผู้เป็นเจ้า
การประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์นี้เรียกว่า พิธีบูชาขอบพระคุณ (Mass-มิสซา) โดยพระศาสนจักรจะมีการรื้อฟื้นหลักความเชื่อ การสารภาพบาป การโมทนาขอบพระคุณ การร้องเพลงสรรเสริญ การฟังพระวาจาจากพระวรสารและฟังบทอ่านจากหนังสือประกาศก แล้วประกอบพิธีบิขนมปังและแบ่งเหล่าองุ่น ให้คริสตชนรับเอาพระวรกายของพระเยซูคริสต์ ร่วมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระกายของพระเยซูคริสต์
งานเลี้ยงนี้เป็นพิธีการของพระเจ้า เพราะพระเยซูคริสต์ตรัสว่า "จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด" (ลูกา 22:19) พระศาสนจักรจึงประกอบพิธีนี้ด้วยแรงกระตุ้นที่ถูกต้อง คือ นบนอบ ถ่อมตน และทำทุกสิ่งให้พร้อมสรรพอย่างสง่างาม เพื่อนำแต่ละคนได้ถวายผลงานรุ่นแรกและผลผลิตที่ดีที่สุดแด่พระเจ้าแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์เหมือนเมื่อครั้งอาแบลถวายบูชาในปฐมกาล (ปฐมกาล 4:4)
เหตุนี้เองพระศาสนจักรคาทอลิกจึงไม่มีการกระโดน โลดเต้น โห่ร้อง บนพระแท่นถวายบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขององค์พระผู้เป็นเจ้า
การประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ
ความสำคัญของพระแท่นบูชาในพระวิหารของพระเจ้า
พระแท่นบูชา (altar) เป็นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ ทำจากหินตามพระวจนะของพระเจ้า (โยชูวา 8:31) การสร้างแท่นบูชาเพื่อเผาถวายมีมาตั้งแต่สมัยโนอาห์ (ปฐมกาล 8:21) และพระเจ้าพอพระทัยเครื่องบูชาของโนอาห์จึงทรงอวยพระพรแก่โนอาห์
เหตุการณ์ถวายบูชาก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อพระเจ้าทดสอบใจอับราฮัมให้พาอิสอัคบุตรชายไปฆ่าถวายบูชาบนภูเขา และพระเจ้าทรงพอพระทัยความยำเกรงของอับราฮัมว่า "ไม่ได้หวงแหนสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของเขาเลย" (ปฐมกาล 22:1-14)
จนในที่สุดแล้วพระแท่นบูชาที่ทรงตระเตรียมไว้ตั้งแต่บรรพชนนั้น ก็เพื่อองค์พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์เองที่ยอมถวายพระองค์เป็นเครื่องบูชาบนไม้กางเขนด้วยความนบนอบเชื่อฟัง และ เป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตที่เป็นที่พอพระทัยพระเจ้ามากที่สุด
พระเยซูทรงใช้โต๊ะอาหารในมื้อสุดท้าย ให้เป็นแท่นบูชาตามความหมายพระธรรมเดิม และให้ขนมปังไร้เชื้อแทนพระวรกายที่จะนอนทอดร่างลงบนแท่นบูชา ให้เหล้าองุ่นแทนพระโลหิตที่จะหลั่งไหลบนแท่นบูชา ก่อนที่พระองค์จะถวายพระองค์จริง ๆ บนไม้กางเขนในวันถัดมานั่นเอง
ในยุคแรกของพระศาสนจักรชาวคริสต์จึงถือว่าโต๊ะอาหารที่กระทำพิธีบิขนมปังนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะโต๊ะอาหารของพระเจ้า “จะร่วมโต๊ะทั้งกับองค์พระผู้เป็นเจ้าและร่วมโต๊ะกับพวกปีศาจไม่ได้” (1คร 10:21)
พระแท่น (โต๊ะอาหาร) จึงเป็นสถานที่พบปะระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ เป็นสถานที่ซึ่งคริสตชนจะได้มีประสบการณ์กับพระคริสต ดังเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น คือ หลังจากที่พระเยซูคริสต์ทรงฟื้นพระชนม์แล้ว ก็เดินเท้าไปเมืองเอมาอุสกับบรรดาศิษย์ของพระองค์ แต่ไม่มีใครเลยที่จำพระองค์ได้ จนกระทั่งพระเยซูคริสต์ได้ทำพิธีบิขนมปังด้วยตัวพระองค์เองอีกครั้ง พวกเขาก็ตาสว่างและจำพระองค์ได้
“ขณะประทับที่โต๊ะกับเขา พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงถวายพระพร ทรงบิขนมปังและยื่นให้เขา เขาก็ตาสว่างและจำพระองค์ได้” (ลก 24:30-31)
ภาพตัวอย่างแท่นบูชาในวัดคาทอลิก จะสร้างและออกแบบแตกต่างกันไปตามศิลปะของแต่ละท้องถิ่น บนพระแท่นบูชาจะมีพระคัมภีร์ไบเบิล / เทียน / กางเขน
เหตุการณ์ถวายบูชาก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อพระเจ้าทดสอบใจอับราฮัมให้พาอิสอัคบุตรชายไปฆ่าถวายบูชาบนภูเขา และพระเจ้าทรงพอพระทัยความยำเกรงของอับราฮัมว่า "ไม่ได้หวงแหนสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของเขาเลย" (ปฐมกาล 22:1-14)
จนในที่สุดแล้วพระแท่นบูชาที่ทรงตระเตรียมไว้ตั้งแต่บรรพชนนั้น ก็เพื่อองค์พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์เองที่ยอมถวายพระองค์เป็นเครื่องบูชาบนไม้กางเขนด้วยความนบนอบเชื่อฟัง และ เป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตที่เป็นที่พอพระทัยพระเจ้ามากที่สุด
พระเยซูทรงใช้โต๊ะอาหารในมื้อสุดท้าย ให้เป็นแท่นบูชาตามความหมายพระธรรมเดิม และให้ขนมปังไร้เชื้อแทนพระวรกายที่จะนอนทอดร่างลงบนแท่นบูชา ให้เหล้าองุ่นแทนพระโลหิตที่จะหลั่งไหลบนแท่นบูชา ก่อนที่พระองค์จะถวายพระองค์จริง ๆ บนไม้กางเขนในวันถัดมานั่นเอง
ในยุคแรกของพระศาสนจักรชาวคริสต์จึงถือว่าโต๊ะอาหารที่กระทำพิธีบิขนมปังนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะโต๊ะอาหารของพระเจ้า “จะร่วมโต๊ะทั้งกับองค์พระผู้เป็นเจ้าและร่วมโต๊ะกับพวกปีศาจไม่ได้” (1คร 10:21)
พระแท่น (โต๊ะอาหาร) จึงเป็นสถานที่พบปะระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ เป็นสถานที่ซึ่งคริสตชนจะได้มีประสบการณ์กับพระคริสต ดังเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น คือ หลังจากที่พระเยซูคริสต์ทรงฟื้นพระชนม์แล้ว ก็เดินเท้าไปเมืองเอมาอุสกับบรรดาศิษย์ของพระองค์ แต่ไม่มีใครเลยที่จำพระองค์ได้ จนกระทั่งพระเยซูคริสต์ได้ทำพิธีบิขนมปังด้วยตัวพระองค์เองอีกครั้ง พวกเขาก็ตาสว่างและจำพระองค์ได้
“ขณะประทับที่โต๊ะกับเขา พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงถวายพระพร ทรงบิขนมปังและยื่นให้เขา เขาก็ตาสว่างและจำพระองค์ได้” (ลก 24:30-31)
ภาพตัวอย่างแท่นบูชาในวัดคาทอลิก จะสร้างและออกแบบแตกต่างกันไปตามศิลปะของแต่ละท้องถิ่น บนพระแท่นบูชาจะมีพระคัมภีร์ไบเบิล / เทียน / กางเขน
เกิดอะไรขึ้นกันแน่ในขณะประกอบพิธีมิสซาในพระวิหารของพระเจ้า
บรรดาจิตวิญญาณของทูตสวรรค์เข้ามาร่วมพิธีงานเลี้ยงกับเหล่ามนุษย์ พวกเขาจะร่วมระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่สุดของฝ่ายจิตวิญญาณ พระเป็นเจ้าทรงพอพระทัยที่จะเห็นการร่วมระลึกถึงเครื่องสักการะบูชาของพระบุตรตลอดไปเป็นนิจนิรันดร์ พระสิริรุ่งโรจน์จากฟ้าสวรรค์จะเทลงมาท่ามกลางงานเลี้ยง บรรดาเหล่ามนุษย์จะได้รับพระพรและพละกำลังฝ่ายจิตวิญญาณ
@raymondartistry_ It's very true, serious.. most many Catholic don't know happen to Holy Mass #catholictiktok #true #holymass #catholic #truestory ♬ original sound - 🇲🇾 raymondartistry👨🏽🎨
แชร์ 382 แชร์ 429 แชร์ 325