LGBQT+ ในมุมมองคาทอลิก
หมวดหมู่ย่อย
LGBQT+ ในมุมมองคาทอลิก
LGBQT+ ในสายตาพระคัมภีร์
สมรสเท่าเทียมของคาทอลิก
คาทอลิกที่เป็น LGBQT+
ถามตอบสำคัญสำหรับ LGBQT+
LGBQT+สมัครเรียนคำสอน
สภาผู้แทนราษฎรประเทศไทย ได้มีมติผ่านพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียมแล้ว และ รอประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2025 ซึ่งจะมีสถานะเป็นกฏหมายซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่มีเพศเดียวกันสัญชาติไทยสามารถจดทะเบียนสมรสได้
ย้อนกลับไปก่อนที่กฏหมายของไทยจะผ่านสภา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2023 สมณกระทรวงพระสัจธรรม ได้ออกปฏิญญาชื่อ Fiducia Supplicans*2 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ “ความหมายเชิงอภิบาลของการอวยพร” ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะอวยพรคู่รักที่มีเพศเดียวกันได้
และได้ก่อให้เกิดคําถามที่ได้รับจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศไทยนั้นคณะกรรมการที่ปรึกษาเทววิทยา สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ก็ได้รับฟังคำถามจากสาธารณะชนมากมาย เช่น
สัตบุรุษที่เป็นคาทอลิกที่มีเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายบ้านเมืองได้หรือไม่ ? และสําหรับผู้ที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายบ้านเมืองแล้ว อยากจะมารับพรจากศาสนบริกร (พระสงฆ์) ที่ได้รับศีลบรรพชา ได้หรือไม่ ? และ พระสงฆ์จะสามารถอวยพรคู่สมรสดังกล่าวได้หรือไม่ ? หรือ คู่สมรสที่หย่าร้างแล้วไปอยู่กินกับผู้อื่น หรือ ไปแต่งงานใหม่ตามกฎหมายบ้านเมือง (irregular or same sex union) ได้หรือไม่ ? และ ถ้าสามารถกระทําได้ มีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร ?
โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้ประชุมร่วมกันในการหาคำตอบและข้อยุติในประเด็นเรื่องการสมรสเท่าเทียม และได้มีการเผยแพร่บันทึกออกมาสู่สาธารณชน โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
ย้อนกลับไปก่อนที่กฏหมายของไทยจะผ่านสภา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2023 สมณกระทรวงพระสัจธรรม ได้ออกปฏิญญาชื่อ Fiducia Supplicans*2 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ “ความหมายเชิงอภิบาลของการอวยพร” ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะอวยพรคู่รักที่มีเพศเดียวกันได้
และได้ก่อให้เกิดคําถามที่ได้รับจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศไทยนั้นคณะกรรมการที่ปรึกษาเทววิทยา สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ก็ได้รับฟังคำถามจากสาธารณะชนมากมาย เช่น
สัตบุรุษที่เป็นคาทอลิกที่มีเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายบ้านเมืองได้หรือไม่ ? และสําหรับผู้ที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายบ้านเมืองแล้ว อยากจะมารับพรจากศาสนบริกร (พระสงฆ์) ที่ได้รับศีลบรรพชา ได้หรือไม่ ? และ พระสงฆ์จะสามารถอวยพรคู่สมรสดังกล่าวได้หรือไม่ ? หรือ คู่สมรสที่หย่าร้างแล้วไปอยู่กินกับผู้อื่น หรือ ไปแต่งงานใหม่ตามกฎหมายบ้านเมือง (irregular or same sex union) ได้หรือไม่ ? และ ถ้าสามารถกระทําได้ มีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร ?
โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้ประชุมร่วมกันในการหาคำตอบและข้อยุติในประเด็นเรื่องการสมรสเท่าเทียม และได้มีการเผยแพร่บันทึกออกมาสู่สาธารณชน โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
ศีลสมรสเป็นกฏเกณฑ์ของพระเจ้าที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
คําสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกเรื่อง ศีลสมรส (the sacrament of marriage) นั้นมีจุดยืนชัดเจนเหมือนเดิมมาเสมอตามความในพระคัมภีร์ซึ่งได้กำหนดศีลสมรสไว้ว่า ต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนทุกข้อดังนี้ คือ
(1) สงวนไว้เฉพาะระหว่างชายและหญิงเท่านั้น (exclusive)
(2) มีความมั่นคงถาวร (stable)
(3) ไม่สามารถหย่าร้างได้ (indissoluble)
(4) การให้กําเนิดและการอบรมบุตรธิดา (FS, no. 4)
(1) สงวนไว้เฉพาะระหว่างชายและหญิงเท่านั้น (exclusive)
(2) มีความมั่นคงถาวร (stable)
(3) ไม่สามารถหย่าร้างได้ (indissoluble)
(4) การให้กําเนิดและการอบรมบุตรธิดา (FS, no. 4)
ด้วยเหตุนี้ การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายบ้านเมืองระหว่างผู้ที่มีเพศเดียวกัน จึงขัดกับลักษณะที่เป็นสาระสําคัญของการสมรสในความหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์เช่นนั้นเอง การกระทํา หรือ พฤติกรรมใดที่ขัดแย้งกับสาระสําคัญของสภาพดังกล่าว จึงไม่สามารถยอมได้ และ ไม่มีผู้มีอํานาจใด ไม่ว่าผู้มีอํานาจทางบ้านเมือง หรือ ผู้มีอำนาจทางพระศาสนจักร จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้า (divine law) ได้
ดังนั้น บุคคลที่มีเพศเดียวกันจึงไม่สามารถเข้าพิธีแต่งงานตามจารีตพิธีกรรมที่มีมาแต่ดั้งเดิมของพระศาสนจักรได้
แนวทางการอภิบาลของพระศาสนจักรคาทอลิกต่อ LQBT+ คือ 'เมตตา' เพราะเป็นพระศาสนจักรที่ไม่ละทิ้งใครเลย (inclusive)
พระศาสนจักรคาทอลิกเป็นพระศาสนจักรที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงสถาปนาขึ้น สืบต่อจากบรรดาอัครสาวกสมเด็จพระสันตะปาปา ผู้อภิบาล ศาสนบริกร และผู้รับใช้ แม้ว่าพระศาสนจักรกําลังเดินทางอยู่ในโลกนี้ แต่ก็เป็นพระศาสนจักรที่จะไม่ละทิ้งใครเลย (inclusive)
ทั้งนี้ เพราะพระเมตตากรุณาของพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งภารกิจของพระองค์ คือ เสด็จลงมาเพื่อตามหาคนบาป และ เราทุกคนเป็นคนบาปเสมอหน้ากัน ไม่ว่าจะรักต่างเพศชายและหญิงก็มีบาปของตัวเอง ซึ่งก็เป็นบาปที่ไม่ได้ต่างจากการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเลย
ทั้งนี้ เพราะพระเมตตากรุณาของพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งภารกิจของพระองค์ คือ เสด็จลงมาเพื่อตามหาคนบาป และ เราทุกคนเป็นคนบาปเสมอหน้ากัน ไม่ว่าจะรักต่างเพศชายและหญิงก็มีบาปของตัวเอง ซึ่งก็เป็นบาปที่ไม่ได้ต่างจากการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเลย
แนวทางการอภิบาลแบบค่อยเป็นค่อยไป (the law of gradualness)
"The gradualness of the law" เป็นหลักการที่ใช้กันทั่วไป คือ เน้นที่การบังคับใช้กระบวนการทางกฏหมายให้มีผลต่อทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน แต่กระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อป้องกันความรุนแรงจากความไม่พร้อมของคนที่มีความสามารถต่างกัน
ซึ่งเป็นปกติขององค์กรไม่ว่าจะในระดับใดจนใหญ่ถึงระดับประเทศที่จะใช้หลักกฏหมายนี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงทิศทางการปฏิบัติของทุกคนในประเทศนั้น ๆ เช่น กฏหมายเกี่ยวกับเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมของไทย คือ 5% มาเป็น 7% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติกันถ้วนหน้าทุกคนว่า เราจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากราคาสินค้าหรือบริการที่เราใช้จ่าย เพื่อนำภาษีนั้นไปบำรุงประเทศ
ในขณะที่พระศาสนจักรเลือกใช้แนวทาง "The law of gradualness" คือ ให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ได้มีผลบังคับว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคนหนึ่งได้ จะต้องเกิดขึ้นอย่างเสมอหน้ากันกับอีกคนหนึ่งด้วย
การที่พระศาสนจักรเลือกใช้แนวทาง "The law of gradualness" เพราะถือตัวว่า พระศาสนจักรจะเป็นผู้ร่วมเดินทางไปกับ LGBQT+ และ พระศาสนจักรจะพยายามที่เข้าใจและให้กําลังใจต่อความยากลําบากที่เกิดจากการเป็นผู้ที่มีศรัทธาในพระเจ้า แต่มีความสัมพันธ์ทางกายกับเพศเดียวกัน
การที่พระศาสนจักรเลือกแนวทางนี้ ก็เพื่อจะได้ช่วยให้ LGBQT+ ผู้มีศรัทธาในพระเจ้าจะสามารถพัฒนาก้าวหน้าอย่างเป็นขั้น เป็นตอน โดยอาศัยความรักของพระศาสนจักรที่คอยโอบอุ้มพวกเขา ดุจดังที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงกางแขนออกจนสุดบนไม้กางเขน และกอดรับคนบาปทุกคนโดยไม่ได้คำนึงลักษณะความบาปของมนุษย์ จนความรักนั้นสามารถละลายและเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้
โดยพระศาสนจักรมองว่า เราทุกคนที่มีเพศสภาพปกติจะต้องแยกระหว่างการกระทําของคนนั้นกับการมีอัตลักษณ์ของตัวบุคคล ออกจากกัน และ การแยกแยะแบบนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องในการอภิบาลสำหรับ LGBQT+
เพราะความโน้มเอียงในการสนใจในเพศเดียวกัน หรือ สนใจทั้งสองเพศพร้อม ๆ กัน แม้ว่าเป็นความบิดเบือนจากลักษณะที่ทรงสร้างไว้ว่า ชายจะต้องมีใจที่สนใจความสวยงามของหญิง และ หญิงก็จะต้องมีใจที่สนใจความงดงามของชาย แต่การสนใจเพศเดียวกันก็ไม่ใช่เป็นบาป เพราะบุคคลที่มีความโน้มเอียงรักและประทับใจในเพศเดียวกันไม่เป็นความผิด
เช่น เด็กผู้ชายที่หลงใหลนักร้องผู้ชาย โดยไม่ใช่ในลักษณะหลงใหลอยากจะเป็นนักร้องตามแบบอย่างศิลปิน แต่มีความสุขใจที่ได้คิดถึง ได้ดู ได้ติดตาม เหมือนได้มีเพื่อนทางใจให้ผูกพัน ได้รู้สีกมีกำลัง โดยไม่ได้มีความต้องการทางเพศสัมพันธ์ออกมา ลักษณะแบบนี้ไม่ได้เป็นบาป หรือ แม้กระทั่งผู้ที่รักเพศเดียวกันและพึงพอใจที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันได้ แต่ถ้าพวกเขามิได้กระทำการมีเพศสัมพันธ์ใด ๆ พวกเขาก็ไม่ได้ทำบาปเช่นกัน
ในขณะที่แนวคิดที่ว่า 'การคิดล่วงประเวณีทางใจ' ที่เราถือว่าเป็นบาป ก็เป็นมาตรฐานศีลธรรมของพระเยซูเจ้าที่ต้องใช้กับทุกคนเสมอหน้ากัน ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นผู้รักต่างเพศ หรือ รักเพศเดียวกัน
ดังนั้นการรักเพศเดียวกัน หรือ รักทั้งสองเพศพร้อมกัน ก็สามารถกระทำบาปในเรื่อง 'การคิดล่วงประเวณีทางใจ' ได้เช่นเดียวกันกับคนรักต่างเพศ หากชายใดคิดล่วงประเวณีกับหญิง และ หญิงใดคิดล่วงประเวณีกับชาย ก็ได้กระทำบาปแล้ว ดังนั้น บาปในข้อนี้ไม่น่าจะนำมาใช้เป็นข้ออ้างได้ว่า การสนใจเพศเดียวกันกันนั้นเป็นบาป เพราะตราบเท่าที่ผู้นั้นไม่ได้คิด 'ล่วงประเวณีทางใจ' การสนใจเพศเดียวกันก็ไม่ใช่ความบาปแต่อย่างใด
แต่ก็มีข้อห้ามในเรื่องของการแสดงออกทางการแต่งกายด้วย (มิใช่ท่าทาง วาจา ซึ่งหมายถึงบุคลิกภาพ) ที่ชายและหญิงจะต้องแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายตามเพศสภาพแต่กำเนิดของตัวเอง และ กฏข้อนี้ก็ใช้กับทุกคนถ้วนหน้าเสมอกันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด
ส่วนพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศต่อเพศเดียวกัน (การแสดงออกว่าผู้นั้นพึงพอใจและยอมรับการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน) ถือว่าเป็นบาป (sin) ในมาตรฐานของพระเจ้า แต่ก็ไม่ใช่อาชญากรรม (not a crime) ในมาตรฐานทางกฏหมายที่จะต้องมีการปฎิบัติต่อผู้กระทำความผิด
เช่น คนที่ปล้นฆ่าและข่มขืน กับ ชายผู้ที่รักเพศเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศ ทั้งสองคนนี้ได้กระทำบาปต่อพระเจ้าเท่ากัน แต่ว่า คนที่ปล้นฆ่าและข่มขืนนั้นถือว่าเป็นอาชญากรรมจะต้องได้รับการปฏิบัติตอบโต้กลับด้วยกฏหมายและสังคม เช่น การถูกจองจำรวมถึงการพิพากษาประหารชีวิต ถูกสังคมรังเกียจเดียดฉันท์
แต่ชายผู้ที่รักเพศเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศเดียวกัน โดยยินยอมเต็มใจทั้งสองฝ่าย พวกเขาไม่ได้ก่ออาชญากรรม จึงไม่ต้องได้รับการปฏิบัติตอบโต้กลับด้วยกฏหมายและสังคมใด ๆ
และ นั่นเองที่เป็นเหตุผลว่า พระศาสนจักรจึงไม่สามารถปฏิบัติกับผู้รักเพศเดียวกันหรือรักต่างเพศ ไม่ว่าพวกเขาจะมีการสำแดงชัดเจนว่า มีเพศสัมพันธ์ทางกายต่อกันหรือไม่ ? ด้วยการพิพากษาพวกเขา หรือ สาปแช่งพวกเขาให้ตกนรก หรือ รังเกียจเดียจฉันท์พวกเขา
พระศาสนจักรจึงจะต้องปฏิบัติกับ LGBQT+ ด้วยการตั้งใจรับฟังด้วยหัวใจ (listen with heart) เพื่อจะเข้าใจสถานการณ์และสภาวะของบุคคล และ นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นของพระศาสนจักรที่จะประกาศข่าวดีให้กับพวกเขาและสามารถก้าวเดินไปทีละก้าวกับ LGBT+ ด้วยความรัก จนกว่าพวกเขาจะเดินเข้าไปถึงความรักของพระเจ้าได้
ซึ่งเป็นปกติขององค์กรไม่ว่าจะในระดับใดจนใหญ่ถึงระดับประเทศที่จะใช้หลักกฏหมายนี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงทิศทางการปฏิบัติของทุกคนในประเทศนั้น ๆ เช่น กฏหมายเกี่ยวกับเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมของไทย คือ 5% มาเป็น 7% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติกันถ้วนหน้าทุกคนว่า เราจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากราคาสินค้าหรือบริการที่เราใช้จ่าย เพื่อนำภาษีนั้นไปบำรุงประเทศ
ในขณะที่พระศาสนจักรเลือกใช้แนวทาง "The law of gradualness" คือ ให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ได้มีผลบังคับว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคนหนึ่งได้ จะต้องเกิดขึ้นอย่างเสมอหน้ากันกับอีกคนหนึ่งด้วย
การที่พระศาสนจักรเลือกใช้แนวทาง "The law of gradualness" เพราะถือตัวว่า พระศาสนจักรจะเป็นผู้ร่วมเดินทางไปกับ LGBQT+ และ พระศาสนจักรจะพยายามที่เข้าใจและให้กําลังใจต่อความยากลําบากที่เกิดจากการเป็นผู้ที่มีศรัทธาในพระเจ้า แต่มีความสัมพันธ์ทางกายกับเพศเดียวกัน
การที่พระศาสนจักรเลือกแนวทางนี้ ก็เพื่อจะได้ช่วยให้ LGBQT+ ผู้มีศรัทธาในพระเจ้าจะสามารถพัฒนาก้าวหน้าอย่างเป็นขั้น เป็นตอน โดยอาศัยความรักของพระศาสนจักรที่คอยโอบอุ้มพวกเขา ดุจดังที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงกางแขนออกจนสุดบนไม้กางเขน และกอดรับคนบาปทุกคนโดยไม่ได้คำนึงลักษณะความบาปของมนุษย์ จนความรักนั้นสามารถละลายและเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้
โดยพระศาสนจักรมองว่า เราทุกคนที่มีเพศสภาพปกติจะต้องแยกระหว่างการกระทําของคนนั้นกับการมีอัตลักษณ์ของตัวบุคคล ออกจากกัน และ การแยกแยะแบบนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องในการอภิบาลสำหรับ LGBQT+
เพราะความโน้มเอียงในการสนใจในเพศเดียวกัน หรือ สนใจทั้งสองเพศพร้อม ๆ กัน แม้ว่าเป็นความบิดเบือนจากลักษณะที่ทรงสร้างไว้ว่า ชายจะต้องมีใจที่สนใจความสวยงามของหญิง และ หญิงก็จะต้องมีใจที่สนใจความงดงามของชาย แต่การสนใจเพศเดียวกันก็ไม่ใช่เป็นบาป เพราะบุคคลที่มีความโน้มเอียงรักและประทับใจในเพศเดียวกันไม่เป็นความผิด
เช่น เด็กผู้ชายที่หลงใหลนักร้องผู้ชาย โดยไม่ใช่ในลักษณะหลงใหลอยากจะเป็นนักร้องตามแบบอย่างศิลปิน แต่มีความสุขใจที่ได้คิดถึง ได้ดู ได้ติดตาม เหมือนได้มีเพื่อนทางใจให้ผูกพัน ได้รู้สีกมีกำลัง โดยไม่ได้มีความต้องการทางเพศสัมพันธ์ออกมา ลักษณะแบบนี้ไม่ได้เป็นบาป หรือ แม้กระทั่งผู้ที่รักเพศเดียวกันและพึงพอใจที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันได้ แต่ถ้าพวกเขามิได้กระทำการมีเพศสัมพันธ์ใด ๆ พวกเขาก็ไม่ได้ทำบาปเช่นกัน
ในขณะที่แนวคิดที่ว่า 'การคิดล่วงประเวณีทางใจ' ที่เราถือว่าเป็นบาป ก็เป็นมาตรฐานศีลธรรมของพระเยซูเจ้าที่ต้องใช้กับทุกคนเสมอหน้ากัน ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นผู้รักต่างเพศ หรือ รักเพศเดียวกัน
ดังนั้นการรักเพศเดียวกัน หรือ รักทั้งสองเพศพร้อมกัน ก็สามารถกระทำบาปในเรื่อง 'การคิดล่วงประเวณีทางใจ' ได้เช่นเดียวกันกับคนรักต่างเพศ หากชายใดคิดล่วงประเวณีกับหญิง และ หญิงใดคิดล่วงประเวณีกับชาย ก็ได้กระทำบาปแล้ว ดังนั้น บาปในข้อนี้ไม่น่าจะนำมาใช้เป็นข้ออ้างได้ว่า การสนใจเพศเดียวกันกันนั้นเป็นบาป เพราะตราบเท่าที่ผู้นั้นไม่ได้คิด 'ล่วงประเวณีทางใจ' การสนใจเพศเดียวกันก็ไม่ใช่ความบาปแต่อย่างใด
แต่ก็มีข้อห้ามในเรื่องของการแสดงออกทางการแต่งกายด้วย (มิใช่ท่าทาง วาจา ซึ่งหมายถึงบุคลิกภาพ) ที่ชายและหญิงจะต้องแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายตามเพศสภาพแต่กำเนิดของตัวเอง และ กฏข้อนี้ก็ใช้กับทุกคนถ้วนหน้าเสมอกันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด
ส่วนพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศต่อเพศเดียวกัน (การแสดงออกว่าผู้นั้นพึงพอใจและยอมรับการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน) ถือว่าเป็นบาป (sin) ในมาตรฐานของพระเจ้า แต่ก็ไม่ใช่อาชญากรรม (not a crime) ในมาตรฐานทางกฏหมายที่จะต้องมีการปฎิบัติต่อผู้กระทำความผิด
เช่น คนที่ปล้นฆ่าและข่มขืน กับ ชายผู้ที่รักเพศเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศ ทั้งสองคนนี้ได้กระทำบาปต่อพระเจ้าเท่ากัน แต่ว่า คนที่ปล้นฆ่าและข่มขืนนั้นถือว่าเป็นอาชญากรรมจะต้องได้รับการปฏิบัติตอบโต้กลับด้วยกฏหมายและสังคม เช่น การถูกจองจำรวมถึงการพิพากษาประหารชีวิต ถูกสังคมรังเกียจเดียดฉันท์
แต่ชายผู้ที่รักเพศเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศเดียวกัน โดยยินยอมเต็มใจทั้งสองฝ่าย พวกเขาไม่ได้ก่ออาชญากรรม จึงไม่ต้องได้รับการปฏิบัติตอบโต้กลับด้วยกฏหมายและสังคมใด ๆ
และ นั่นเองที่เป็นเหตุผลว่า พระศาสนจักรจึงไม่สามารถปฏิบัติกับผู้รักเพศเดียวกันหรือรักต่างเพศ ไม่ว่าพวกเขาจะมีการสำแดงชัดเจนว่า มีเพศสัมพันธ์ทางกายต่อกันหรือไม่ ? ด้วยการพิพากษาพวกเขา หรือ สาปแช่งพวกเขาให้ตกนรก หรือ รังเกียจเดียจฉันท์พวกเขา
พระศาสนจักรจึงจะต้องปฏิบัติกับ LGBQT+ ด้วยการตั้งใจรับฟังด้วยหัวใจ (listen with heart) เพื่อจะเข้าใจสถานการณ์และสภาวะของบุคคล และ นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นของพระศาสนจักรที่จะประกาศข่าวดีให้กับพวกเขาและสามารถก้าวเดินไปทีละก้าวกับ LGBT+ ด้วยความรัก จนกว่าพวกเขาจะเดินเข้าไปถึงความรักของพระเจ้าได้
หลักการของปฏิญญาความวางใจที่วอนขอ (Fiducia Supplicans) ที่พูดถึงหลักการดูแล LGBQT+ ผ่านการอวยพรแทนการประกอบพิธีสมรสให้
1.
ปฏิญญา Fiducia Supplicans ไม่ได้เปลี่ยนคําสอนของพระศาสนจักร เรื่องการแต่งงานซึ่งประกอบไปด้วย การสงวนไว้เฉพาะระหว่างชายและหญิงเท่านั้น (exclusive) มีความมั่นคงถาวร (stable) และไม่สามารถหย่าร้างได้ (indissoluble) และเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นได้เฉพาะในการสมรสระหว่างชายและหญิงเท่านั้น ไม่มีอำนาจใดที่สามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติที่เป็นสาระสำคัญนี้ได้2.
จุดประสงค์ของปฏิญญา Fiducia Supplicans เจาะจงไปที่การอวยพรในเชิงอภิบาล (อภิบาล คือ ให้เลี้ยงดูและดูแลไม่ว่าพวกเขาจะมีเงื่อนไขในชีวิตอย่างไร) เหตุเพราะว่าจะต้องมีคู่รักเพศเดียวกัน เข้ามาขอให้พระสงฆ์ประกอบพิธีสมรสให้ โดยอ้างถึงกฏหมายที่อนุญาตให้แล้วหากไม่มีการกำหนดแนวทางให้เป็นปฏิญญา เพื่อให้พระศาสนจักรคาทอลิกปฏิบัติเหมือนกันทั่วโลกแล้ว การปฏิบัติของพระสงฆ์ต่อ LGBQT+ ในเรื่องการขอเข้ารับพิธีสมรสของคู่รักเพศเดียวกัน อาจก่อให้เกิดการสะดุดต่อ LGBQT+ และอาจรุนแรงถึงขั้นผลักดัน LGBQT+ ให้ออกห่างจากความรักของพระเจ้า และ นั่นไม่ใช่สิ่งที่พระศาสนจักรต้องการให้เกิดขึ้นเลย
ปฏิญญา Fiducia Supplicans เจาะจงไปที่ แนวคิดของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ซึ่งอธิบายการตีความในเรื่องอวยพรว่า การอวยพรตามหลักคำสอนและพิธีกรรม กับ การอวยพรแบบเรียบง่าย มีความแตกต่างกัน ดังนี้
การอวยพรในศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ จะต้องเป็นไปตามหลักคำสอนและพิธีกรรมเหมือนเดิม เช่น ในกรณีศีลสมรสนั้น พระสงฆ์จะอวยพรได้เมื่อเป็นคู่สมรสชายและหญิงตามเพศสภาพกำเนิดที่ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ของพระศาสนจักรมาอย่างถูกต้องเท่านั้น
การอวยพรแบบเรียบง่าย เป็นไปเพื่อให้พวกเขาได้รับพระเมตตาของพระเจ้า ที่พวกเขาสามารถมาขอพระพร พระหรรษทาน เพื่อการดําเนินชีวิตที่ดีขึ้น และวอนขอองค์พระจิตเจ้าที่จะประทานความหมายแห่งพระวรสาร (พระคัมภีร์ 4 ฉบับ คือ มัทธิว มาระโก ลูกา และ ยอห์น) ให้แก่จิตวิญญาณของพวกเขา เพื่อนําเอาไปปฏิบัติในชีวิตจนบรรลุถึงความครบครันได้
การอวยพรแบบเรียบง่ายจึงเป็นท่าทีภายนอกแบบเปิด เพื่อให้ LGBT+ ได้เห็นท่าทีของความรัก ความเห็นอกเห็นใจจากผู้รับใช้ของพระเจ้าซึ่งจะต้องมีอยู่ล้นอย่างเสมอ ไม่ว่าผู้ที่เข้ามาหาผู้รับใช้ของพระเจ้าจะมีสภาพชีวิตอย่างไร ไม่ว่าจะเคยเป็น หรือ ยังเป็นอยู่ในความบาปต่าง ๆ เช่น การลักขโมย, การเป็นชู้, การฉ้อโกง ฯลฯ ผู้รับใช้ของพระเจ้าจะต้องมีท่าทีภายนอกและภายในที่เต็มล้นไปด้วยความรักอยู่เสมอ
3.
ตัวอย่างคำอวยพรแบบเรียบง่าย: "ขอพระเจ้าทรงอวยพรให้ท่านมีสุขภาพดี มีงานทำ มีสันติสุข และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขอให้ชีวิตของท่านอยู่ในพระพรและพระประสงค์ของพระองค์ อาแมน"4.
การอวยพรแบบเรียบง่ายนี้ ไม่ได้ หมายถึง การรับรองสถานภาพของคู่รักต่างเพศ หรือ คู่สมรสเพศเดียวกัน เพราะการจดทะเบียน หรือ การอยู่กินร่วมกันไม่ว่าจะต่างเพศ หรือ เพศเดียวกัน ไม่ใช่เป็นการสมรสในความหมายของศีลสมรสศักดิ์สิทธิ์ตามความในพระคัมภีร์อีกทั้ง การอวยพรแบบเรียบง่ายไม่ได้อนุญาตให้พระสงฆ์มีท่าทีภายนอกที่กระทำจนให้ผู้อื่นเข้าใจว่า พระศาสนจักรได้รับรองสถานภาพการสมรสนั้น หรือ อนุมัติให้อยู่กินร่วมกันเช่นนั้นได้ แต่การอวยพรแบบเรียบง่ายเป็นการไม่ปิดกั้นชีวิตของพวกเพื่อจะได้รับพระพรและพระหรรษทานจากพระเจ้า เพื่อดำเนินชีวิตตามคุณค่าของพระวรสาร
5.
เมื่อการจดทะเบียนสมรสเพศเดียวกันได้ตามกฏหมาย หรือ การอยู่ร่วมกันและได้รับสิทธิ์ประโยชน์ต่าง ๆ ตามกฏหมาย ไม่ใช่เป็นการสมรสตามความหมายอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว พระสงฆ์ควรอวยพรด้วยการอวยพรที่สั้น กระทัดรัด ปราศจากรูปแบบในพิธีกรรม โดยต้องมีความรอบคอบ เหมาะสมกับสถานการณ์ และหลีกเลี่ยงการสร้างความสะดุดต่อความเชื่อของผู้อื่นถ้าพระสงฆ์หรือสังฆานุกรมั่นใจว่า คู่รักเพศเดียวกันนั้นกําลังแสวงหาหลักฐานการรับรองพันธะ เพื่อหวังจะได้รับการรับรองสถานภาพของตนจากพระศาสนจักร โดยนำหลักฐานการอวยพรนั้นไปใช้แสดงออกถึงการยอมรับของพระศาสนจักร ในช่องทางใด ๆ เช่น การขอถ่ายรูป หรือ บันทึกคลิปวีดีโอไว้ในขณะที่มีการอวยพรให้คู่รักเพศเดียวเพื่อหวังจะนำไปเผยแพร่ในโซเชียล หรือ การบันทึกรายการถ่ายทำใด ๆ หรือ ให้กระทำการอวยพรในที่สาธารณะชนที่มีคนจำนวนมาก หรือ ต่อหน้าผู้อื่นใด พระสงฆ์หรือสังฆานุกรควรปฏิเสธการอวยพรดังกล่าว โดยยึดหลักความรักและการแสดงออกถึงความเข้าอกเข้าใจ
ซึ่งยังรวมไปถึงไม่อวยพรแบบเรียบง่ายให้กับชายหญิงที่อยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน และผู้ที่แต่งงานแล้ว หย่าร้างแล้ว ไปแต่งงานใหม่ตามกฎหมายบ้านเมืองด้วย หากพบว่าผู้ขอรับการอวยพรนั้นต้องการการรับรองสถานภาพที่ขัดกับหลักศาสนา ศาสนบริกรควรปฏิเสธการอวยพรนั้น
การอวยพรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้รับพระเมตตาคุณของพระเจ้าในชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่พระคัมภีร์สนับสนุนอย่างหนักแน่น และสามารถใช้เป็นการกระทำเพื่อแสดงถึงความรักในตัวของผู้นั้นด้วย
การอวยพรคู่รัก LGBQT+ มิได้ให้ความหมายว่า เป็นการประกอบพิธีสมรส หรือ รับรองว่าเห็นด้วยกับการใช้ชีวิตร่วมกันแบบคู่รักของพวกเขาแต่อย่างใด และยังกระทำอยู่ภายใต้กรอบที่จะไม่ให้ผู้อื่นใดเกิดการสะดุดอย่างรอบคอบ
การอวยพรแบบเรียบง่ายนั้นเป็นไปเพื่อขอวิงวอนให้พระเจ้าได้โปรดทรงเมตตาต่อพวกเขา วอนขอให้พวกเขายังคงได้รับพระพรต่าง ๆ เพื่อการดําเนินชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน จนคุณค่าของพระวรสารปรากฏในชีวิตของพวกเขา
ในขณะที่การแสดงออกด้วยคำพูดแช่งสาป LGBQT+ โดยอ้างถึงพระคัมภีร์ ก็ไม่ได้เป็นการช่วยให้พวกเขาได้ตระหนักถึงพระเมตตาคุณที่อยากช่วยพวกเขา แต่ยิ่งกลับเป็นการผลักไสพวกเขาให้ห่างไกลจากความรอดมากขึ้น และไม่ใช่ LGBQT+ เท่านั้นที่ถูกผลักให้ไกลความรอด แต่ผู้ที่แช่งสาปเองก็ด้วยเช่นกัน เพราะผลของความบาปในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เขาต้องรับผิดชอบกับพระเจ้าเป็นการส่วนตัว มิใช่ เรื่องของเราที่จำต้องพิพากษาพวกเขาไปล่วงหน้า แต่สิ่งที่พวกเราควรทำไปล่วงหน้า คือ การแสดงความรักนั่นเอง
ลูกา 6:37-38 "อย่าตัดสินเขา(ไม่ให้โอกาสและความรัก) แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงตัดสินท่าน อย่ากล่าวโทษเขา(ไม่ให้โอกาสและความรัก) แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน จงให้อภัย(ความรัก) เขาแล้วพระเจ้าจะทรงให้อภัยท่าน จงให้(ความรัก) แล้วพระเจ้าจะประทาน(ความรักและโอกาส) แก่ท่าน ท่านจะได้รับ(ความรัก) เต็มสัด เต็มทะนาน อัดแน่น จนล้น เพราะว่าท่านใช้ (การปฏิบัติ) ทะนานใดตวงให้เขา พระเจ้าก็จะทรงใช้ (การปฏิบัติ) ทะนานนั้นตวงตอบแทนให้ท่านด้วย”
หมวดหมู่ย่อย
LGBQT+ ในมุมมองคาทอลิก
LGBQT+ ในสายตาพระคัมภีร์
สมรสเท่าเทียมของคาทอลิก
คาทอลิกที่เป็น LGBQT+
ถามตอบสำคัญสำหรับ LGBQT+
LGBQT+สมัครเรียนคำสอน